Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เกร็ดความรู้เล็กๆ นอกเวลา 1

Angsana Story (เรื่องราวของ Angsana)




เพิ่งรู้วันนี้เองว่า Angsana UPC กับ Angsana New มันต่างกันตรงไหน
เคยสงสัยเหมือนกันสมัยหัดใช้คอมใหม่ๆ แต่ไม่ได้ติดใจอะไรมากนักถ้ามันใช้ได้ทั้งคู่ คำถามนี้เลยลบหายไปจากใจมานาน เชื่อว่าคนอื่นน่าจะคิดคล้ายๆ กัน

วันนี้มีโอกาสนั่งคุยกับคุณบุญเลิศ คนสร้าง Angsana, Browalia, Cordia เหล่านี้ เลยได้รู้ข้อแตกต่าง

UPC เป็นฟอนต์ที่ใช้ตาราง ASCII ส่วน New นั้นเป็น Unicode ขอไม่อธิบายละกันว่าสองอย่างนี้มันต่างกันยังไง
UPC ใช้ hinting ของคุณบุญเลิศ ส่วน New นั้น ลิขสิทธิ์ของ hinting เป็นของไมโครซอฟท์
ฟอนต์ TrueType ในปัจจุบันเป็นเวกเตอร์ ถึงแม้เวกเตอร์จะมีข้อดีที่ขยายอย่างไรก็ไม่มีวันแตก แต่ถ้าย่อภาพลงไปจนเล็กในขนาดหนึ่ง (สำหรับฟอนต์คือประมาณ 18pt ลงไป) จำนวนจุดที่แสดงผลบนจอจะเป็นข้อจำกัด ทำให้ฟอนต์เริ่มบิดๆ เบี้ยวๆ

hinting คือการบอกว่าจะวาดฟอนต์บนจออย่างไร anti-alias อย่างไรถึงจะสวย ซึ่งเป็นวิธีแบบ manual ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญจริงๆ สำหรับทำ hint และฟอนต์ตัวเดียวกันแต่คนละขนาด หรือคนละ resolution จำเป็นต้องใช้ hinting คนละชุดกัน เพราะ hinting สำหรับ 18pt อาจจะดูไม่ดีใน 12pt ก็ได้

เท่าที่ทราบปัจจุบันนี้ในโลกมีผู้เชี่ยวชาญการ hinting ระดับเทพจริงๆ 10 กว่าคนเท่านั้น หมกตัวอยู่ใน Microsoft, Apple, Adobe และบริษัทฟอนต์อย่าง Bitstream

ถ้าเคยใช้ Bitstream Vera จะพบว่ามันคมชัดมากแทบจะบาดเลย Vera เป็นหนึ่งฟอนต์ที่ได้รับการยอมรับว่ามี hinting ดีมากๆ

สำหรับ Mac OS X จะไม่มี hinting เพราะส่วนการแสดงผลนั้นใช้ OpenGL เข้ามาช่วยในการ composite ภาพส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้ยกหน้าที่การทำ anti-alias ไปให้กับ OpenGL แล้ว
ภาพเลยออกมาชัดจนไม่ต้องมี hinting (คุณบุญเลิศยังบอกด้วยว่าจะเห็นชัดเจนในจอแบบใหม่ของ PowerBook)

โลกของฟอนต์นี่ยิ่งใหญ่กว่าที่คิดไว้เยอะแฮะ

แหล่งที่มา http://www.isriya.com/node/721/angsana-story

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น